วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อดีของการมีจริยธรรม

ข้อดีของการมีจริยธรรม
๑. ความมีเหตุผล
นิยาม ความ สามารถในการใช้ปัญญาในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ผูกพันตนเองกับอารมณ์และความยึดมั่นส่วนตัวความสามารถในการหาสาเหตุของ สิ่งต่าง ๆ ได้โดยการคิดใคร่ครวญ ไตร่ตรองปัญหาต่าง ๆ ว่ามีต้นตอมามาจากสิ่งใด รวมไปถึงการพิจารณาว่าถ้าทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปแล้วจะเกิดผลดีหรือผลเสียต่อ ตนเอง และคนรอบข้างอย่างไรบ้าง

ตัวอย่าง 
ใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
- ศรัทธาต่อการเข้าให้ถึงความจริงของเรื่องต่าง ๆ
- ไม่ลุ่มหลงเพราะเชื่องมงาย
- ไม่ยึดตนเองหรือบุคคลเป็นใหญ่
- ไม่สรุปอย่างง่าย ๆ โดยไม่ใช้เหตุผลอย่างรอบคอบ
- รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาละเทศะ 
๒. ความซื่อสัตย์สุจริต
นิยาม การ ประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น รวมตลอดทั้งต่อหน้าที่การงานและคำมั่นสัญญา ความประพฤติที่ตรงไปตรงมา และจริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม รวมไปถึงการไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง นอกจากนี้แล้วความซื่อสัตย์สุจริตยังรวมไปถึง การรักษาคำพูดหรือคำมั่นสัญญา และการปฏิบัติหน้าที่การงานของตนเองด้วยความรับผิดชอบ และด้วยความซื่อสัตย์ไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องด้วยการใช้ อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตนี้จะดำเนินไปด้วยความตั้งใจจริงเพื่อทำหน้าที่ของ ตนเองให้สำเร็จลุล่วง ด้วยความระมัดระวัง และเกิดผลดีต่อตนเองและสังคม

ตัวอย่าง 
- ซื่อตรงต่อเวลา งาน การนัดหมาย คำมั่นสัญญา ระเบียบประเพณี กฎหมาย
- ไม่พูดปด ฉ้อฉล สับปลับ กลับกลอก ไม่คดโกง
- ไม่ให้ร้ายผู้อื่น
- กล้าที่จะรับความจริง
- ประกอบสัมมาชีพ 
๓. ความอุตสาหะ
นิยาม ความ พยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้งานที่ทำสำเร็จลุล่วง ความมีมานะพยายามในการประกอบการงานที่สุจริตด้วยความขยันขันแข็ง อดทน เอาใจใส่อยู่เป็นนิจและเสมอต้นเสมอปลาย โดยใช้สติปัญญาเพื่อให้งานที่ทำบรรลุผลสำเร็จและได้รับผลดีสูงสุด (สรุปการทำงานด้วยความอดทนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค)

ตัวอย่าง 
มานะอดทน
- บากบั่น พยายาม ไม่ท้อถอย
- ขยัน
- ไม่ละเลยหรือทอดทิ้งธุระการงานทั้งของตนเองและทั้งที่ได้รับ มอบหมายให้ปฏิบัติ
- พยายามต่อสู้เพื่อเอาชนะอุปสรรค 
๔. ความเมตตากรุณา
นิยาม เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา คือ ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข สามารถแสดงออกได้โดยการช่วยเหลือโดยการกระทำ หรือวาจา รวมถึงการไม่คิดร้ายต่อผู้อื่นด้วย

ตัวอย่าง - ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
- มีอาการทางกาย วาจา ที่แสดงต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพ นุ่มนวล
- ช่วยปลอบใจผู้ที่ได้รับความลำบาก
- ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เป็นทุกข
์ - แสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นได้รับความสุขและความสำเร็จ
- ไม่ข่มขู่ ดูหมิ่น เสียดสี พูดจาด้วยความเกรี้ยวโกรธเคียดแค้น 
๕. ความเสียสละ
นิยาม การ ละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่ผู้ที่ควรได้รับ ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง ความมีจิตใจกว้างขวาง ช่วยเหลือเกื้อกูล การสละความสุขสบายหรือผลประโยชน์ของตนเอง อันเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นโดยที่ตนเองมิได้หวังผลตอบ แทนความมีจิตใจกว้างขวาง ช่วยเหลือเกื้อกูล การสละความสุขสบายหรือผลประโยชน์ของตนเอง อันเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นโดยที่ตนเองมิได้หวังผลตอบ แทน

ตัวอย่าง 
- บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
- ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
- สละ แบ่งปัน ทรัพย์ เครื่องอุปโภค แก่ผู้ที่สมควรได้รับ
- ช่วยแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา
- ช่วยเพิ่มพูนความรู้ใหม่แก่ผู้อื่นตามกำลังสติปัญญา 
๖. ความสามัคคี
นิยาม ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การร่วมมือกันทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีความพร้อมเพรียง หรือความปรองดองกัน 

ตัวอย่าง 
- รักหมู่คณะ มีใจหวังดี
- มองคนอื่นในแง่ดีเสมอ
- เข้ามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจการของส่วนรวม
- เป็นผู้ประสานความสามัคคีในหมู่คณะ
- ปรับตนเองให้เข้ากับผู้อื่นได้ 
๗. ความรับผิดชอบ
นิยาม ความ มุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพันและละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย อีกทั้งพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น การมีความสำนึกและการปฏิบัติหน้าที่ของตนทั้งที่เป็นภารกิจส่วนตัว ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และภารกิจทางสังคมโดยจะต้องกระทำจนบรรลุผลสำเร็จ ไม่หลีกเลี่ยงภาระดังกล่าว และยอมรับผลในการกระทำของตน 

ตัวอย่าง 
- ให้ความสามารถอย่างเต็มที่
- ยอมรับผลการกระทำของตน
- รู้หน้าที่ และกระทำหน้าที่เป็นอย่างดี
- เอาใจในการทำงาน 
๘. ความกตัญญูกตเวที
นิยาม ความ กตัญญู หมายถึง ความรู้สึกนึกในการอุปการะคุณ หรือ บุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมีต่อตนเอง กตเทวี หมายถึง การแสดงออกเพื่อการตอบแทนบุญคุณ ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การรู้บุญคุณและตอบแทนคุณต่อคนอื่นและสิ่งอื่นที่มีบุญคุณ 

ตัวอย่าง 
- แสดงความเคารพนับถือ ยกย่องเชิดชู ผู้มีพระคุณ
- ไม่ละทิ้งผู้มีพระคุณในคราวที่ผู้มีพระคุณเดือดร้อนลำบาก
- ไม่ประพฤติเหี้ยมโหดต่อสัตว์ที่มีบุญคุณ
- รักษาและสงวนทรัพยากรธรรมชาติ 
๙. ความประหยัด
นิยาม การ ใช้สิ่งทั้งหลายอย่างพอเหมาะพอควรเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุดการรู้จักใช้ รู้จักออมทรัพย์สิน เวลา ทรัพยากรทั้งส่วนตนและสังคมตามความจำเป็นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งการรู้จักดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพฐานะความเป็นอยู่ส่วนตนและสังคม 

ตัวอย่าง 
- รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เหมาะกับสถานการณ์
- ใช้จ่ายทรัพย์เท่าที่จำเป็น สมควรแก่อัตภาพ
- รู้จักใช้ประโยชน์จากของเก่า
- รู้จักทำของใช้เอง
- ใช้และถนอมของใช้ และทรัพย์สินให้คงคุณค่า และประโยชน์ 
๑๐. ความรู้จักพอ
นิยาม การ ไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตของตนโดยสันโดษการพึงพอใจในสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ และรู้จักดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพฐานะความเป็นอยู่ของตนเอง การมีความระลึกและรู้สึกตัวอยู่เสมอ อันจะมีผลให้สามารถควบคุมตนเองให้พ้นจากการเป็นทาสของกิเลส 

ตัวอย่าง 
- พอใจสิ่งที่ตนเองมีอยู่
- รู้จักข่มความโลภ ความหลงผิด 
๑๑. ความมีสติสัมปชัญญะ
นิยาม การ ควบคุมตนเองให้มีความพร้อม มีสภาพตื่นตัว ฉับไวในการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ในการตัดสินใจ และในการพฤติตนอย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของการสำรวมรอบคอบและระมัดระวัง 

ตัวอย่าง 
- รู้ตัวตลอดเวลาว่าตนเองกำลังคิดและทำอะไร
- ตระหนักในข้อดีข้อเสียของพฤติกรรมของตน
- มีความฉับไวในการรับรู้สิ่งภายนอก
- เมื่อประสบปัญหาข้อยุ่งยาก ก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และความคิดของตนให้มีความพร้อมที่จะแก้ปัญหา
- ยับยั้งการแสดงพฤติกรรมของตนได้ทัน ก่อนที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
- ควบคุมตนเองไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
- ระลึกตั้งมั่นในความถูกต้องดีงามอยู่เสมอ 
๑๒. ความมีระเบียบวินัย
นิยาม การ ควบคุมความประพฤติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยา มารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรมการรู้จักควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติตามข้อตกลง ข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ย่อมนำมาซึ่งความสงบสุขในชีวิตของตน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมและประเทศชาติ 

ตัวอย่าง 
- ควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้อยู่ในกรอบและระเบียบที่ดีงาม
- ควบคมและปรับปรุงกิริยาให้งดงาม เป็นระเบียบ สุภาพเหมาะกับ บุคคล โอกาส เวลา และสถานที่
- รักษาร่างกาย เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
- รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ และปฏิบัติตามกฎ และข้อบังคับของสถานที่นั้น ๆ 
๑๓. ความยุติธรรม
นิยาม การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริง และเหตุผลความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม และความชอบด้วยเหตุผล 

ตัวอย่าง 
- ไม่เห็นผิดเป็นชอบ
- ไม่ลำเอียงเพราะความพอรักใคร่ โกธร เกลียด กลัว หลง 
๑๔. ความอดทนอดกลั้น
นิยาม ความ อดทน คือการกระทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจ สม่ำเสมอเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคทั้งปวง ความอดกลั้น คือ การรู้จักข่มใจในเวลาที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่เย้ายวนทุกรูปแบบ อันจะทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือถลำลึกลงไปในความชั่วร้าย หรือความทุจริตทั้งปวง ความเข้มแข็ง ความบึกบึน ความหนักแน่นของจิตใจที่สามารถยืนหยัดต่อสู้การกระทบกระทั้งของสภาพการณ์และ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่แสดงอาการหวั่นไหวใด ๆ 

ตัวอย่าง 
- ไม่แสดงอาการเจ็บป่วย หรือทุรนทุรายต่อความเจ็บป่วย หรือต่อ ความลำบาก ตรากตรำ
- อดทนต่อความยากลำบาก ต่อคำเย้ยหยัน คำดูหมิ่น และคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นโดยไม่แสดงปฏิบัติโต้ตอบใด ๆ
- มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อแท้ ไม่ว่าจะตกอยู่ในสภาพการณ์หรือเหตุการณ์ใด ๆ 
๑๕. ความเคารพนับถือผู้อื่น
นิยาม การ แสดงออกซึ่งกาย วาจา ใจ อันสุภาพอ่อนโยน การรู้จักสำรวม รู้จักการให้เกียรติผู้อื่นและให้เกียรติสิ่งที่ควรเคารพอย่างถูกต้องเหมาะ สมตามโอกาสและสถานการณ์ การเคารพในการแสดงออกทางความคิด คำพูดและการกระทำของผู้อื่น อันจะทำให้ตนเองมีใจที่เปิดกว้าง ไม่หมกมุ่นอยู่แต่ความติดของตนเอง เพราะในบางครั้งการที่ยึดติดอยู่เฉพาะแต่ความคิดของตนอย่างเดียวนั้นอาจจะ ผิดพลาด หรือมองปัญหาได้ไม่ทั่วถึง 

ตัวอย่าง 
- แสดงความสุภาพอ่อนโยน
- แสดงอากัปกิริยาสำรวมและสงบเสงี่ยม
- ยอมรับฟังคำแนะนำของผู้อื่นด้วยกิริยาอันสำรวม 
๑๖. ความไม่เห็นแก่ตัว
นิยาม การกระทำที่ไม่หวังประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว แต่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นและส่วนรวม 

ตัวอย่าง 
- ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
- ไม่ยึดถือเอาสาธารณสมบัติมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว 
๑๗. ความถ่อมตัว
นิยาม การวางตนอย่างเหมาะสม ไม่แสดงตนเหนือผู้อื่น 

ตัวอย่าง 
- ไม่คุยโวโอ้อวด
- ไม่เย่อหยิ่ง 
๑๘. ความกล้าทางคุณธรรม
นิยาม การ แสดงความกล้าในการคิด และกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมความกล้าหาญที่จะคิด พูด และทำในสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้องทางจริยธรรมโดยไม่คำนึงว่าหากตนปฏิบัติตาม สิ่งนั้นแล้วตนเองจะได้รับประโยชน์ หรือเสียผลประโยชน์อะไรบ้าง หากแต่กระทำไปเพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และจะไม่กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องแม้ว่ามันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์มากมายมหาศาล ก็ตาม 

ตัวอย่าง 
- กล้าพูดความจริง
- กล้าเสียสละ
๑๙.ความเคารพตนเอง
นิยาม การ รู้รับและเชื่อมั่นในความรู้และขอบเขตความสามารถของตนการปฏิบัติตามความ ตั้งใจ หรือปณิธานของตนเองอย่างแน่วแน่ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นสิ่งที่พิจารณาแล้วว่าถูกทำนองคลองธรรมการมีความเชื่อมั่นในความ สามารถที่จะกระทำการใด ๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยราบรื่น ไม่เดือดร้อน สามารถหาปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพมาได้ด้วยความสามารถของตนเอง ไม่เป็นภาระให้ผู้อื่นต้องคอยอุปถัมภ์สงเคราะห์ 

ตัวอย่าง 
- รักศักดิ์ศรีของตน
- ไม่โกหกตนเองว่าตนเองเก่งเกินตัว
- ยอมรับขอบเขตความสามารถในการทำงานของตน




อ้างอิง : http://number1.igetweb.com/index.php?mo=3&art=374358

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น