วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

สอบจริยธรรม


1. นิยาม คำว่า "นักคอมพิวเตอร์"
            นักคอมพิวเตอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ
นําความรู้ที่ได้ศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีมาใช้ประโยชน์ในการดําเนินอาชีพ ตลอดจนพัฒนา
ความรู้ของตนให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ๆ บทบาทของักคอมพิวเตอร์ มีทั้งบทบาททั่วไป และ
บทบาทที่คาดหวังโดยสังคมและองค์กรวิชาชีพ
http://ubon.nfe.go.th/w00/pvch/jariyatum/lesson8.pdf
ความคิดเห็นของข้าพเจ้า : ผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ
นําความรู้ที่ได้ศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีมาใช้ประโยชน์ในการดําเนินอาชีพ

2. บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์
             งานอาชีพคอมพิวเตอร์เป็นงานที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับบุคคลหลายระดับ  บางครั้งอาจเป็นบุคคลต่างสาขาอาชีพ  ดังนั้นการประกอบอาชีพงานคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้อง
คำนึงถึงบุคลิกภาพที่เหมาะสมรวมทั้งผู้มีอาชีพนักคอมพิวเตอร์จะต้องมีความ รู้  ความชำนาญในวิชาชีพด้วยและจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนในการสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีและสร้างความ
ประทับใจให้แก่ลูกค้าผู้มาติดต่อ  นายจ้าง  รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายต่าง  ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสายงานทั้งทางตรงและทางอ้อม งานของนักคอมพิวเตอร์จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือ
ไม่นั้น  ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ  แต่ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือ  บุคลิกภาพ   คนส่วนมากแล้วมักจะคิดว่านักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้  ความสามารถดี  มีประสบการณ์
ในการทำงานมาเป็นอย่างดีแต่ลืมนึกไปถึงส่วนประกอบปลีกย่อยที่สำคัญอีกเรื่อง หนึ่ง  คือ  บุคลิกภาพ  ถึงแม้บุคลิกภาพจะเป็นองค์ประกอบเสริม  แต่ก็เป็นการทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมที่ทำ
ให้งานอาชีพประสบผลสำเร็จได้ไม่แพ้องค์ประกอบด้านอื่นๆ    www.samuttech.com/zit7/images/file/p7.doc
ความคิดเห็นของข้าพเจ้า : บุคลิกภาพที่ดี การแต่งตัวให้เหมาะสมกับงานที่เราทำ

3. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักคอมพิวเตอร์
     นักคอมพิวเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่เอื้อประโยชน์ต่องานอาชีพ คุณสมบัติที่ดีของนักคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะ ดังนี้
     1. เป็นนักวางแผนที่ดี
     2. เป็นนักออกแบบที่สร้างสรรค์
     3. เป็นนักจิตวิทยา
     4. เป็นผู้มีสติ
     5. เป็นผู้มีความรับผิดชอบ
     6. เป็นผู้ใช้ศาสตร์ใช่ศิลป์ได้อย่างกลมกลืน
     7. เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
     8. มีความขยัน อดทน
     9. มีความกระตือรือร้น สนใจค้นคว้าอยู่เสมอ
     10. มีจรรยาต่อวิชาชีพ
http://ubon.nfe.go.th/w00/pvch/jariyatum/lesson8.pdf
ความคิดเห็นของข้าพเจ้า : นักคอมพิวเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่เอื้อประโยชน์ต่องานอาชีพ คุณสมบัติที่ดีของนักคอมพิวเตอร์

4. จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
          ผู้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำเป็นจะต้องมีจิตใต้สำนึกในการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตด้วยความถูกต้อง ระมัดระวัง ไม่ให้เกิดผลกระทบกับสังคมออนไลน์
จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
                ๑.๑ ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด
                ๑.๒ ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
๒. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
                ๒.๑ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
                ๒.๒ ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
                ๒.๓ รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๓. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
                ๓.๑ ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
                ๓.๒ ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
                ๓.๓ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อสังคม
๔. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
                ๔.๑ ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
                ๔.๒ ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์
                ๔.๓ ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๕. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
                ๕.๑ รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
               ๕.๒ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
http://krupeach.blogspot.com/2011/12/blog-post_12.html
ความคิดเห็นของข้าพเจ้า : มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆ

5. การพัฒนาบุคลิกภาพนักคอมพิวเตอร์
      การมีบุคลิกภาพที่ดีนั้น จะเป็นผลให้บุคคลนั้นมีลักษณะสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้
     1. มีความสามารถในการรับรู้และเข้าใจในสภาพความจริงได้อย่างถูกต้อง
     2. การแสดงอารมณ์จะอยู่ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม
     3. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ดี
     4. มีความสามารถในการทำงานที่อำนวยประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้
     5. มีความรัก และความผูกพันต่อผู้อื่น
     6. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาทางการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น
สรุป
การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นคุณค่าต่อชีวิตที่มีคุณภาพของมนุษย์ ไม่ว่าจะมองในแง่ความสุขในการมีชีวิตครอบครัว ชีวิตในสังคม และในการทำงาน หรือในแง่ของความสำเร็จ
ในชีวิตอันเป็นที่พึง ปรารถนาของมนุษย์ทุกรูปทุกนามดังนั้น หากมีความปรารถนาและมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่สักวันหนึ่งท่านก็จะเป็น ผู้ที่เพียบพร้อมไปด้วยบุคลิกภาพอัน
งดงามอย่างแน่นอน จงตั้งความหวังและลงมือกระทำตั้งแต่บัดนี้  http://www.vcharkarn.com/vblog/52340
ความคิดเห็นของข้าพเจ้า : การปรับปรุงการแต่งตัว การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ดี

6. จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์
        เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน  สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิด จริยธรรม เช่น
1.  การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
2.  การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3.  การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.  การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

            ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
1.  กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2.  กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.  กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4.  กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5.  กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6.  กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
   ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือ ชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนกฏหมายอีก 4 ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
http://www.no-poor.com/inttotocomandcomapp/et.htm
ความคิดเห็นของข้าพเจ้า : นักคอมพิวเตอร์ไม่ควรไปกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น ขโมยข้อมูล